วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทัศนศึกษา

การไปทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์จังหวัดอุดรธานี


นักศึกษาปริญญาบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หมู่ 8

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552
 



พิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ริมถนนโพศรี ใกล้วัดโพธิสมภรณ์


ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463 โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล

สำเร็จราชการมณฑลอุดร คุณหญิง ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในจังหวัด

เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับโรงเรียนนารีอุปถัมภ์

สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “ราชินูทิศ”

จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบ
 

อาคารราชินูทิศได้ใช้เป็นอาคารสำนักส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง เมื่อพ.ศ. 2473


และเมื่อปีพ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักโครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภู มิภาค

จนต่อมาพ.ศ. 2516 ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขตเขตการศึกษา 9

และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี และในปีพ.ศ.2547 จังหวัดอุดรธานี

ได้มอบหมายให้เทศบาลนครอุดรธานี เป็นผู้ดูแลรักษา

อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา

หน้าต่างโค้ง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าซุ้มประตู

ปัจจุบันได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

จัดแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานี
 
วิทยากรผู้บรรยาย
 
 



ภาพการไปทัศนศึกษา นักศึกษา ป.บัณฑิต หมู่8



























วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานนำเสนอภาพถ่าย

                                                                

                                                       น้ำหนักสี                                                                
          

                                                        รูปแบบ                                                  


                                                        โคสอัพ
          

                                                        เน้นภาพด้วยกรอบ                                                           


                                                        ลักษณะพื้นผิว                                   

                                                                             

                                                        สมดุลย์ที่เท่ากัน                                                            


                                                             สมดุลย์ที่ไม่เท่ากัน

                                                                      
                                                            เส้นนำสายตา

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้

                            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1


กลุ่มสาระ สุขศึกษาและพลศึกษา                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตของร่างกาย       เวลา 10 ชั่วโมง

เรื่อง การเจริญเติบโต                                                          เวลา 2 ชั่วโมง
.............................................................................................................................

สาระที่ 1 : การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์


มาตรฐาน พ.1.1 เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

สาระสำคัญ

การเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา หู จมูก ผิวหนัง ผม มือ และเท้า ถ้าเราปล่อยให้สกปรกก็จะทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. บอกความสำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้

2. ปฏิบัติตนในการป้องกันดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ ได้ถูกต้องและเหมาะสม

3. บรรยายประโยชน์ของอวัยวะและการดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ ได้

4. บอกผลที่เกิดจากการไม่ดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ ได้


สาระการเรียนรู้

อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ตา หู จมูก ผม ผิวหนัง มือ และเท้า

1. หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ

2. การดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ

กระบวนการเรียนรู้


1. ให้นักเรียน ร้องเพลง ร่างกายของฉัน แล้วให้นักเรียนทำท่าทางประกอบ
            
                                                   เพลง ร่างกายของฉัน


ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง จมูก 2 ข้าง เอาไว้หายใจ มือเรามี 2 มือ เอาไว้จับถือทำงานทั่วไป
ส่วนขาพาเราเดินได้ ไปไหนไหนด้วยขาของเรา

2. นักเรียนช่วยกันเล่าว่า ในแต่ละวัน นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากอวัยวะของร่างกายส่วนใดบ้าง และใช้อย่างไร แล้วช่วยกันสรุปความสำคัญของอวัยวะแต่ละส่วนลงในใบงานที่ 1


3. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของอวัยวะ เช่น ตา หู จมูก ผม ผิวหนัง มือ เท้า จากนั้น วาดภาพหรือหาภาพ มาติดลงในใบงาน ลงในใบงานที่ 1 เรื่อง ความสำคัญของอวัยวะ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ ความสำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายโดยครูยกตัวอย่างผลงานของนักเรียน 3 – 4 คน ประกอบ

5. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่ละส่วนว่ามีการเจริญเติบโตอย่างไร ในด้านขนาด และการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ ว่าทำงานได้อย่างไรบ้าง

6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการดูแลรักษาอวัยวะต่าง ๆ

7. นักเรียนศึกษาใบความรู้ แล้วร่วมแสดงความคิดเห็น

กระบวนการวัดผลประเมินผล


1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

3. สังเกตการนำเสนอผลงาน

4. การตรวจผลงาน

เครื่องมือ


1. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล

3. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

4. แบบประเมินการตรวจผลงาน

เกณฑ์การประเมิน

1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

3. สังเกตการนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

4. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80



สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1. ใบงานที่ 1

2. ใบความรู้

ป้ายนิเทศสื่อทางเสียง



การจัดป้ายนิเทศสื่อการสอน

......................................

สื่อทางเสียง

จัดทำโดย


นางสุธีรา มงคล

นางบัวสอน ชาวกล้า

นางธัญธรณ์ แจคำ

นางสาวศิริรัตน์ สุวรรณ

นางสาวศุภัคษร พรหมสิทธิ

นางสาวสุพรรษา คำพันธ์

...............................



สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์

ความรู้ทักษะประสบการณ์จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิด

การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ สื่อทางเสียงนับเป็นสื่อสำคัญอีกอย่าง

หนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากครูผู้สอนสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจ

มากกว่าการเห็นภาพเพียงอย่างเดียวการใช้สื่อทางเสียงช่วยในการจัด

การเรียนการสอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือประเภทโสตทัศนูปกรณ์เข้ามาร่วม

ด้วยเช่น เครื่องเสียง ไมโครโฟน โสตวัสดุ เช่น เครื่องบันทึกเสียง

เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง แผ่นเสียง เป็นต้น



เครื่องเสียง เครื่องเสียงมีลักษณะที่เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อผ่านตัวกลางหรือ

ผ่านตัวในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียง

ต่างๆให้มีเสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินระยะไกลและเพิ่มความดัของเสียง

เพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจนองค์ประกอบของเครื่องเสียง

ประกอบด้วยภาคสัญญ่ณเข้า(ไมโครโฟน) ภาคขยายสัญญาณสัญญาณ

ภาคสัญญาณออก(ลำโพง)เครื่องเทปเสียง เครื่องเทปเสียงเป็นอุปกรณ์

ในภาคสัญญาณเข้า เพื่อบันทึกเสียงต่างๆลงบนแถบเทปผ่านหัวเทปโดย

ใช้การเคลื่อนที่ของแถบเทปผ่านหัวเทปซึ่งอาศัยหลักทึการเหนี่ยวนำของ

คลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง เมื่อบันทึกเสียงแล้วจะมีการนำมาเล่นเพื่อส่งไปยัง

ภาคขยายศัญญาณและถ่ายทอดเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติให้ได้ยินต่อไป



ประเภทของเครื่องเทปเสียง เครื่องเทปเสียงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ตามลักษณะของตลับเทป ได้แก่

1. แบบม้วนเปิด (open reel) เป็นเทปบันทึกเสียงที่ให้คุณภาพ

เสียงดีเหมาะสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ เช่น เสียงดนตรี รายการ

วิทยุ เป็นต้น

2. แบบกล่อง (cartridge) หรือเรียกทับศัพท์ว่า "เทปคาทริดจ์"

เป็นเทปที่บรรจุอยู่ในกล่องมีขนาดความกว้างของเทป 1/4 นิ้ว พันเป็น

วงปิดระหว่างวงล้อ 2วงโดยจะมีการเล่นเทปวนซำไปมาไม่รู้จบ เทปแบบนี้

นิยมใช้ในงานสปอตวิทยุ

3. แบบตลับคาสเซ็ต (cassette) เป็นเทปบันทึกเสียงที่อยู่ในตลับ

พลาสติกแบนเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างแถบเทป 1/8 นิ้ว

4. แบบตลับคาสเซ็ตเล็ก (micro cassette) มีลักษณะเช่นเดียวกับ

เทปคาสเซ็ตธรรมดาแต่บรรจุในขนาดเล็กกว่ามีความยาวในการเล่นเพียง

15นาที่เท่านั้นการใช้งาน เครื่องเทปเสียงจะมีขั้นตอนสำคัญในการใช้งาน3ลักษณะ



1. การบันทึกเสียง (record) เครื่องเสียงเทปไม่ว่าประเภทใดก็ตาม

จะมีการบันทึกแผ่นเสียงลงบนแถบเทปโดยอาศัยหลักการเดียวกันคือ คลื่นเสียง

ที่ป้อนเข้าไมโครโฟนซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า

ความถี่เสียงแล้วขยายโดยเครื่องขยายเสียงให้มีกำลังแรงขึ้นเพื่อส่งไปยังหัวเทปซึ่งมี

ลักษณะเป็นขดลวดพันรอบแกนเหล็ก

2. การเปิดฟัง (play back) เป็นการนำแถบเทปที่มีการบันทึกเสียงแล้วในรูปของ

พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเปิดฟังในขณะที่แถบเทปเคลื่อนผ่านหัวเทปจะทำให้เกิด

กระแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง

3. การลบเทป (erase) เป็นการลบเสียงที่มีการบันทึกไว้แล้วโดยให้แถบเทป

เคลื่อนที่ผ่านหัวเทปหรือสนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูง ซึ่งจะทำให้โมเลกุลแม่เหล็ก

บนแถบเทปถูกทำให้เป็นระเบียบใหม่แล้วจะทำให้เสียงที่ถูกบันทึกไว้แล้วหายไป



ตัวอย่างสื่อทางเสียง



1.วิทยุ

วิทยุ เป็นสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารรับส่งข่าวสารข้อมูลทางเสียงโดยใช้

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อมวลชนเพื่อ

เป็นการศึกษาในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ2497 โดยใช้วิทยุในการศึกษา

ทั้งในระบบและนอกระบบดรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนจะเรียกว่า

"วิทยุโรงเรียน" ถ้าเป็การสึกษานอกระบบโรงเรียนจะเป็นในลักษณะ"วิทยุไปรษณีย์"

ซึ่งเราเรียกวิทยุเพื่อการศึกษานี้ว่ารวมกันว่า "วิทยุศึกษา"



การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา



การใช้วิทยุเพื่อการศึกษาสามารถนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆได้แก่

1.การสอนโดยตรงเป็นวิทยุที่ใช้เพื่อสื่อการสอน โดยตรงในบางวิชาหรือ

บางตอนของบทเรียนรายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอเนื้อหาตาม

บทเรียนในหลักสูตร บทเรียนการสอนทางวิทยุโดยตรงนี้อาจใช้ได้ในสถานที่

ที่ขาดแคลนครู หรือครูผู้สอนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเพียงพอก็ได้

จึงต้องใช้รายการวิทยุแทน การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้

ก.ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยผู้สอนจะวางแผนการสอนโดยนำรายการวิทยุ

เข้าในกระบวนการสอนด้วย หรือการใช้วิทยุเป็นสื่อเข้ามามีบทบาทเพื่อสอนเรื่องใด

เรื่องหนึ่งแทนผู้สอนโดยตรงในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องศึกษาจากตารางเวลา

ออกอากาศที่กำหนดไว้เพื่อนำรายการนั้นมาสอนให้ตรงเวลาของตน

ข.ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการบันทึกเสียงรายการวิทยุที่ใช้สอนในบทเรียนต่างๆ

ไว้ในเทปเสียงแล้วรวบรวมไว้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถยืมออกไปเปิดฟัง

และศึกษาด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ หรือาจใช้เพื่อทบทวนบทเรียนและสอนเป็นกลุ่มย่อยก็ได้

ค.ใช้เพื่อเป็นสื่อหลักในการศึกษาตามหลักสูตร ด้วยการจัดการสอนแก่ผู้เรียนในระบบ

การศึกษาแบบทางไกล โดยให้ผู้เรียนฟังรายการสอนจากวิทยุเป็นหลักและการศึกษา

เพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆเช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือการพบกลุ่ม เพื่อเสริมความรู้จากบทเรียนที่ได้ฟังมา

ง.เพื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รรายการววิทยุเพื่อเป็นสื่อส่งเสริม

ประเภทหนึ่งในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆเช่น โทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์เป็นต้น

จ.ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นการใช้รายการวิทยุหรือเทปบันทึกเสียงรายการนั้นๆ

เพื่อการสอนหรืออบรมในหน่วยงาน

2.การเพิ่มคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการ

สอนในบางวิชาให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น โดยการเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือ

บทเรียนนั้นให้ผู้เรียนฟังเพื่อให้มีความรู้ความเจในสิ่งที่เรียนนั้นแตกฉานยิ่งขึ้น เช่น

การสอนภาษาต่างประเทศโดยพูดจากเจ้าของภาษา การบรรเลงดนตรี เป็นต้น



วิทยุโรงเรียนคืออะไร



วิทยุดรงเรียนป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นบริการสื่อเพื่อการศึกษา

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ วิทยุดรงเยนเป็นสื่อผสม

กล่าวคือเป็นการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงประกอบกับสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือการสอนของครู

บัตรภาพ บัตรคำ สำหรับนักเรียนด้วย เนื้อหาของวิทยุโรงเรียนได้จัดให้สอดคล้องกับ

เนื้อหาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันวิทยุโรงเรียนจัดทำบทเรียนราย

วิชาต่างๆสำหรับระดับประถมศึกษาทุกกลุ่ม

บล็อคใหม่

เพิ่งเริ่มต้น
เข้าบล็อคครั้งแรก